วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ระบบเครือข่ายไร้สาย

ระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบเครือข่ายไร้สายคืออะไร ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารกันได้ร่วมถึงการติดต่อ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย คอมพิวเตอร์ ์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อ สารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ ระบบเครือข่ายไร้สายใช้แม่เหล็กไฟฟ้าผ่านอากาศ เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้อาจเป็นคลื่นวิทย (Radio) หรืออินฟาเรด (Infrared) ก็ได้ การสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สายมีมาตราฐาน IEEE802.11 เป็นมาตราฐานกำหนดรูปแบบการสื่อสาร ซึ่งมาตราฐานแต่ละตัวจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการสื่อสารข้อมูล เช่น 802.11b และ 802.11g ที่ความเร็ว 11 Mbps และ 54 Mbps ตามลำดับ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้จาก มาตราฐาน IEEE802.11 และขอบเขตของสัญญาณคลอบคุลพื้นที่ประมาณ 100 เมตร ในพื้นที่โปรง และประมาณ 30 เมตร ในอาคาร ซึ่งระยะทางของสัญญาณมีผลกระทบจากสิ่งรอบข้างหลายๆ อย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ ความหนาของกำแพง เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ รวมถึงร่างกายมนุษย์ด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้งานเครือข่ายไร้สายทั้งสิ้น การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมี 2 รูปแบบ คือแบบ Ad-Hoc และ Infrastructure รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้จาก รูปแบบเครือข่ายไร้สาย การใช้งานเครือข่ายไร้สายของผู้ใช้บริการทั่วไปจะเป็นแบบ Infrastructure คือมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ของผู้ให้บริการเป็นผู้ติดตั้งและกระจายสัญญาณ ให้ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อ โดยผู้ใช้บริการจะต้องมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณขอเรียกว่า "การ์ดแลนไร้สาย" เป็นอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ไป Access Point ของผู้ให้บริการ รูปแบบเครือข่ายไร้สาย การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมี 2 รูปแบบ คือแบบ Ad-Hoc และ Infrastructure ทั้งสองรูปแบบมีการทำงานดังต่อไปนี้ 1. การเชื่อมต่อแบบกลุ่มส่วนตัว(Ad-Hoc) การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปที่ติดตั้งการ์ดแลนไร้สาย (หรือ Centrino Notebook) ทำการเชื่อมต่อสื่อสารกันโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อแบบนี้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลได้เช่น แชร์ไฟล์ เครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ การสนทนาแบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และเล่นเกมส์แบบวงแลนได้ ซึ่งช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องมีสายสัญญาณ แต่การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc จะไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายมีสายสัญญาณได้ นอกจากจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ Acces Point เพื่อให้ Access Point ทำการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลไปเครือข่ายมีสายแทน 2. การเชื่อต่อแบบกลุ่มโครงสร้าง (Infrastructure) การเชื่อมต่อแบบ Infrastructure เป็นการเชื่อมต่อที่มีอุปกรณ์กระจายสัญญาญ (Access Point) เป็นตัวกลาง (ดังภาพด้านประกอบ) ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณและข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายของเครือข่ายไร้สายไปสู่เครือข่ายมีสาย หากสังเกตุจะพบว่า Access Point มีการทำงานเหมือนอุปกรณ์ฮับ (HUB) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบมีสาย และที่สำคัญหากมีการเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สายของเครื่องลูกข่ายในจำนวนมากต่อหนึ่ง Access Point จะมีผลทำให้ความเร็วของการสื่อสารเครือข่ายไร้สายช้าลงด้วยเช่นกัน ปัจจุบันเครือข่ายไร้สายแบบ Infrastructure ได้รับความนิยมสูง และเป็นเครือข่ายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านความ ความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เครือข่ายไร้สายช่วยให้เกิดความสะดวกมากขึ้นเพราะไม่ต้องเดินสายสัญญาณสำหรับเครื่องลูก เปลี่ยน เคลื่อนย้าย ขยายขนาดของเครือข่ายไร้สายได้ตลอดเวลา ด้วยความสะดวกสบายของเครือข่ายไร้สายทำให้เครือข่ายไร้สายได้รับการ ยอมรับจากผู้ใช้มากขึ้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11 IEEE 802.11f มาตรฐานนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม IAPP (Inter Access Point Protocol) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ออกแบบมา ที่ออกแบบมาสำหรับจัดการกับผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่ข้ามเขตการให้บริการของ Access Point ตัวหนึ่งไปยัง Access Point เพื่อให้บริการในแบบโรมมิงสัญญาณระหว่างกัน มาตรฐาน IEEE 802.11k มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้จัดการการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการการใช้งานคลื่นวิทยุให้มีประสิทธิภาพโดยมีฟังก์ชันการเลือกช่องสัญญาณ การโรงมิงและการควบคุมกำลังส่งการร้องขอและปรับแต่งค่าให้เหมาะสม มาตรฐาน IEEE 802.11n มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่คาดหมายว่าจะเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE 802.11a มาตรฐาน IEEE 802.11b และมาตรฐาน IEEE 802.11g ที่ใช้งานกันในปัจจุบันโดยให้อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับ 100 เมกะบิตต่อวินาที อุปกรณ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบเครือข่ายไร้สาย 1. PCI Cardเป็นการ์ดที่ไว้ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซี ซึ่งไม่ได้รองรับ การทำงานระบบเครือข่ายไร้สายให้สามารถใช้งานร่วมกับระบบไร้สายได้ 2. PCMCIA Card ทำหน้าที่เหมือนกับ PCI Card แต่ PCMCIA Cardเป็นการ์ด ที่ใช้งานสำหรับครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กที่ไม่สามารถใช้งานระบบเครือข่าย ไร้สายได้ 3. USB Adapter เป็นการ์ดที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพีซีและแบบโน้ตบุ๊กทำหน้าที่ เหมือนกับ PCI Card และ PCMCIA Card 4. Wireless Signal Booter เป็นอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายที่ใช้เพิ่มระยะทาง และประสิทธิภาพการทำงานของ Access Point โดยการเพิ่มกำลังส่งของ สัญญาณเพื่อให้ได้รัศมีการใช้งานที่มากขึ้น 5. Wireless Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่ายให้สื่อสารกันได้ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งภายนอก ซึ่งใช้เชื่อมต่อเครือข่าย ระหว่างอาคารและแบบที่ติดตั้งภายในอาคาร 8.Wireless PrintServer เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์ เพื่อให้มีความสามารถในแบบไร้สายซึ่งมีทั้งรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับใช้งาน กับเครื่องพิมพ์ที่มีพอร์ต Parallel พอร์ต USB หรือทั้งสองพอร์ตร่วมกัน 9.PoE (Power over Ethernet) Adapter เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมา สำหรับแก้ไข ข้อยุ่งยากในการเดินสายไฟฟ้าเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ไร้สายโดยใช้วิธีการจ่ายไฟ ผ่านสายนำสัญญาณ UTP ที่ยังมีคู่สายที่ยังไม่ถูกนำมาใช้งานมาทำหน้าที่แทน ประโยชน์เครือข่ายไร้สาย - มหาวิทยาลัยสามารถใช้เครือข่ายไร้สายโดยนักศึกษาสามารถเข้าถึงบทเรียน Online ต่างๆ ได้ สามารถ สืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต จากจุดใดจุดหนึ่งของสถาบันได้ และนักศึกษาไม่จำเป็นต้องรอเข้าใช้ห้องบริการคอมพิวเตอร์ ของสถาบัน สามารถใช้จากจุดใดก็ได้ที่สัญญาณเครือข่ายไร้สาย ไปถึงช่วยให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น - ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณให้เข้าถึงจุดบริการต่างๆ มากขึ้น และสามารถให้บริการในจุดบริการ ที่สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน - ผู้บริหารจัดการระบบเครือข่าย สามารถเผ้าตรวจสอบระบบ และปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเครือข่ายจากจุดก็ได้ ทำให้สะดวก และรวดเร็วต่อการจัดการมากขึ้น ข้อดีของการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย 1. ความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Installation flexibility) ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือโน้ตบุ๊ค กันเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊คมีขนาดเล็กลงจนสามารถนำติดตัวไปใช้ที่ต่าง ๆ ได้ แต่การนำคอมพิวเตอร์ แบบโน้ตบุ๊คต่อกับเน็ตเวิร์คมีสาย ทำได้ไม่สะดวก แต่สำหรับเน็ตเวิร์คไร้สายจะประกอบด้วย การ์ดไคลแอนต์ซึ่งเป็นแผงวงจร ขนาดเล็กที่ต่อเข้ากับโน้ตบุ๊คเท่านั้นและส่วนที่เป็น Access Point ซึ่งเป็นจุด เชื่อมต่อที่นำไปวางไว้ที่ใดก็ได้หรือจะติดยึดกับฝาผนัง ฝ้า เพดาน 2. ความคล่องตัว (Mobility improves productivity and service) ในบางครั้งการเคลื่อนย้ายของผู้ใช้อาจไม่เฉพาะเจาะจง อยู่ในที่ทำงานอย่างเดียว อาจครอบคลุมไปยังที่ต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ ห้องสมุดสามารถสำรวจทรัยากรสารนิเทศภายในห้องสมุด แบบระบบออนไลน์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊คกับเครื่องอ่านบาร์โค้ด ส่วนผู้ใช้ห้องสมุดสามารถย้ายจากที่นั่งได้โดย สัญญาณเครือข่ายจะไม่หยุดชะงัก เป็นต้น 3. การขยายเครือข่าย (Scalability) ระบบเครือข่ายแบบไร้สายทำให้เครือข่ายขององค์กรสามารถปรับขนาดและความ เหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยากในเรื่องการเดินสายสื่อสารซึ่งมีปัญหาในเรื่องสถานที่ การปรับปรุงสถานที่เพื่อเดินสายสัญญาณเป็นเรื่อง ไม่พึงปรารถนา 4. การติดตั้งง่ายและรวดเร็ว(Installation speed and simplicity) ระบบเครือข่ายไร้สายสามารถครอบคลุมพื้นที่เล็ก ๆ โดยมี การเชื่อมโยงระหว่างอาคารได้ด้วยระบบแบบจุดไปจุด ทำให้ดำเนินการได้เร็วและสะดวกต่อการติดตั้งเพราะไม่ต้องเดินสายไฟ สายเคเบิลหรือสายสื่อสารข้อมูล แหล่งอ้างอิง : http://student.nu.ac.th/mammie/WLan.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น